1. น้ำผึ้ง
น้ำผึ้งมีส่วนผสมของเชื้อเซลล์สืบพันธุ์ของแบคทีเรียคลอสตริเดียม บูโทลินัม (Clostridium Butolinum) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคบูโทลินัมในเด็กที่ระบบย่อยอาหารยังไม่สามารถพัฒนาได้เต็มที่ แม้ว่าโรคนี้จะเป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อยนัก แต่มีอันตรายถึงชีวิตเลยทีเดียว
2. นมวัวหรือน้ำนมถั่วเหลือง
พยายามให้ลูกกินนมแม่หรือนมผงจนกว่าลูกจะอายุครบ 1ปี เพราะว่าก่อนลูกจะครบขวบปีแรก กระเพาะของลูกไม่สามารถย่อยโปรตีนในนมวัวนมและนมถั่วเหลืองได้ นอกจากนี้นมมีสารอาหารมากเกินกว่าที่ร่างกายของลูกต้องการและส่งผลต่อไตของลูกได้
3. อาหารทะเล
ร่ายกายลูกยังไม่สามารถย่อยอาหารทะเลได้ ดังนั้นหากรับประทานเร็วกว่า 1 ขวบ อาจจะกระตุ้นให้ลูกกลายเป็นคนแพ้อาหารทะเลได้ค่ะ
4. ไข่
ไข่เป็นอาหารกลุ่มเสี่ยงที่พบค่อนข้างบ่อยว่าเด็กแพ้ หากคุณอยากให้ลูกลองกินไข่ควรให้กินแต่ไข่แดง เพราะจากการวิจัยพบว่าเด็กแพ้ไข่ขาวมากกว่าไข่แดง ที่สำคัญไข่แดงที่ต้มในลักษณะของไข่ต้มมีความฝืดคอ กลืนยาก และทำให้ลูกอาเจียนออกมา
5. เนยถั่ว
แม้ว่าเนยถั่วจะมีเนื้อเนียน นุ่ม แต่ก็ฝืดคอและกลืนยากเกินไปสำหรับเด็กเล็ก
6. แป้งสาลี หรือข้าวสาลี
อาหารที่มีส่วนผสมของแป้งสาลีเป็นหนึ่งในอาหารกลุ่มเสี่ยงที่เด็กก่อนขวบปีแรกมีอัตราการแพ้สูงทีเดียว อาหารที่มีแป้งสาลีเป็นส่วนประกอบสำคัญได้แก่ ขนมปัง เค้ก คุกกี้ บางครั้งเรามองข้ามไปและไม่ได้ให้ความสนใจอะไร ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือรอให้ลูกโตเกิน 1 ขวบแล้วค่อยให้ลูกลองทานอาหารประเภทนี้
7. อาหารนุ่มและเหนียว
อาหารนุ่มอย่างมาชเมลโล เยลลี่ หรือลูกอมที่เคี้ยวได้อาจติดคอลูกได้
8. อาหารที่มีขนาดเล็กและแข็ง
ลูกอม ยาอมแก้เจ็บคอ ถั่ว ข้าวโพดคั่ว เป็นอาหารกลุ่มเสี่ยงต่อการติดคอของลูกได้ง่าย ธัญพืชอาจจะดูเหมือนว่าเล็กไปไม่น่าติดคอ แต่อาจติดหลอดลมของลูกและก่อให้เกิดการติดเชื้อได้
9. อาหารชิ้นใหญ่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น