เม็ดบัว… มีประโยชน์ทางยาสูงมาก แพทย์แผนไทยแนะนำว่า ช่วยบำรุงกำลัง แก้โรคข้อต่างๆ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ส่วนแพทย์แผนจีนบอกว่า ช่วยบำรุงไต ม้าม หัวใจและตับ ซึ่งตรงกับงานวิจัยในต่างประ
เทศที่ระบุว่า เม็ดบัวมีสารแอนติออกซิแดนต์
ในปริมาณสูง ซึ่งสารนี้มีคุณสมบัติหลายอย่าง
เช่น ชะลอการเสื่อมของอวัยวะและผิวพรรณ ป้องกันมะเร็ง ช่วยปกป้องและบำรุงตับ โดยเฉพาะตับที่ต้องขับสารอะฟลาท็อกซิน(Aflatoxin) ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดมะเร็งตับ
ออกจากร่างกาย การกินเม็ดบัวจึงสามารถ
ป้องกันการเกิดมะเร็งได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
มะเร็งตับ
เม็ดบัว… เป็นธัญพืชที่ให้คุณค่าทางอาหารสูง ทานได้
ทั้งสดและแห้ง มีโปรตีนเป็นส่วนประกอบ
มากกว่าข้าว 3 เท่า (ประมาณ 23%) นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งรวมของวิตามิน แร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี เกลือแร่และฟอสฟอรัส วิตามินเหล่านี้มีส่วนช่วยในการบำรุงประสาท บำรุงไต บำรุงสมอง มีสรรพคุณทางยาใน
การรักษาอาการท้องร่วง บิดเรื้อรัง สตรีประจำเดือนมามาก และสรรพคุณ
พื้นบ้านที่ใช้เป็นยาบำรุงเลือดหรือเพิ่มเลือด ส่วนดีบัว (ต้นอ่อนที่อยู่ในเม็ดบัว มีรสขม) ยังช่วยลดความดันโลหิตสูง เพิ่มแรงบีบตัว
ของหัวใจ ช่วยขยายหลอดเลือด แก้กระหาย และอาเจียนเป็นเลือดส่วนของจีนระบุว่าดีบัวนั้น หากทานเข้าไปแล้วจะช่วยบำรุงถุงน้ำดี ช่วยเพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจ และบำรุง
หลอดเลือดหัวใจอีกด้วย ทั้งนี้การทานเม็ดบัว
เพื่อบำรุงเลือดแนะนำให้ทานเม็ดบัวสดเท่านั้น ไม่ใช่เม็ดบัวที่ผ่านการแปรรูป
จากคุณสมบัติที่ดีของเม็ดบัว คนสมัยก่อน
จึงนิยมนำเม็ดบัวมาทำอาหารทั้งคาวและหวาน เช่น ข้าวผัดเม็ดบัว สังขยาเม็ดบัว เม็ดบัวเชื่อม ขนมหม้อแกงเม็ดบัว ใส่ในเต้าฮวย ฯลฯ นอกจากนี้หากนำเม็ดบัวมาปรุงอาหารร่วมกับลำไยแห้งจะทำให้สรรพคุณทางยาของเม็ดบัวเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
เม็ดบัวไทย-จีน ความเหมือนที่แตกต่าง
มีการศึกษาเปรียบเทียบปริมาณสารแอนติออกซิแดนต์ในเม็ดบัวไทยและจีนพบว่า เม็ดบัวไทยมีปริมาณสารแอนติออกซิแดนต์สูงกว่าเม็ดบัวจีน 5-6 เท่า หากต้องการให้ร่าง
กายได้รับสารแอนติออกซิแดนต์ปริมาณสูงควรเลือกกินเม็ดบัวไทยโดยเฉพาะเม็ดบัวไทยสด
วิธีกิน คือ ลอกเปลือกออกจากเมล็ด โดยไม่ดึง
เยื่อหุ้มเมล็ดและดีบัวออก กินสดๆทั้งเมล็ด จะทำให้ร่างกายได้รับวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านมะเร็งซึ่งอยู่บริเวณเยื่อหุ้มเมล็ดและดีบัวในปริมาณสูง
ข้อควรระวัง ผู้ที่มีอาการท้องผูก ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ไม่ควรกิน และไม่ควรปรุง
อาหารที่มีเม็ดบัวในภาชนะที่ทำจากเหล็ก เพราะจะทำให้เม็ดบัวกลายเป็นสีดำ
เทศที่ระบุว่า เม็ดบัวมีสารแอนติออกซิแดนต์
ในปริมาณสูง ซึ่งสารนี้มีคุณสมบัติหลายอย่าง
เช่น ชะลอการเสื่อมของอวัยวะและผิวพรรณ ป้องกันมะเร็ง ช่วยปกป้องและบำรุงตับ โดยเฉพาะตับที่ต้องขับสารอะฟลาท็อกซิน(Aflatoxin) ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดมะเร็งตับ
ออกจากร่างกาย การกินเม็ดบัวจึงสามารถ
ป้องกันการเกิดมะเร็งได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
มะเร็งตับ
เม็ดบัว… เป็นธัญพืชที่ให้คุณค่าทางอาหารสูง ทานได้
ทั้งสดและแห้ง มีโปรตีนเป็นส่วนประกอบ
มากกว่าข้าว 3 เท่า (ประมาณ 23%) นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งรวมของวิตามิน แร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี เกลือแร่และฟอสฟอรัส วิตามินเหล่านี้มีส่วนช่วยในการบำรุงประสาท บำรุงไต บำรุงสมอง มีสรรพคุณทางยาใน
การรักษาอาการท้องร่วง บิดเรื้อรัง สตรีประจำเดือนมามาก และสรรพคุณ
พื้นบ้านที่ใช้เป็นยาบำรุงเลือดหรือเพิ่มเลือด ส่วนดีบัว (ต้นอ่อนที่อยู่ในเม็ดบัว มีรสขม) ยังช่วยลดความดันโลหิตสูง เพิ่มแรงบีบตัว
ของหัวใจ ช่วยขยายหลอดเลือด แก้กระหาย และอาเจียนเป็นเลือดส่วนของจีนระบุว่าดีบัวนั้น หากทานเข้าไปแล้วจะช่วยบำรุงถุงน้ำดี ช่วยเพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจ และบำรุง
หลอดเลือดหัวใจอีกด้วย ทั้งนี้การทานเม็ดบัว
เพื่อบำรุงเลือดแนะนำให้ทานเม็ดบัวสดเท่านั้น ไม่ใช่เม็ดบัวที่ผ่านการแปรรูป
จากคุณสมบัติที่ดีของเม็ดบัว คนสมัยก่อน
จึงนิยมนำเม็ดบัวมาทำอาหารทั้งคาวและหวาน เช่น ข้าวผัดเม็ดบัว สังขยาเม็ดบัว เม็ดบัวเชื่อม ขนมหม้อแกงเม็ดบัว ใส่ในเต้าฮวย ฯลฯ นอกจากนี้หากนำเม็ดบัวมาปรุงอาหารร่วมกับลำไยแห้งจะทำให้สรรพคุณทางยาของเม็ดบัวเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
เม็ดบัวไทย-จีน ความเหมือนที่แตกต่าง
มีการศึกษาเปรียบเทียบปริมาณสารแอนติออกซิแดนต์ในเม็ดบัวไทยและจีนพบว่า เม็ดบัวไทยมีปริมาณสารแอนติออกซิแดนต์สูงกว่าเม็ดบัวจีน 5-6 เท่า หากต้องการให้ร่าง
กายได้รับสารแอนติออกซิแดนต์ปริมาณสูงควรเลือกกินเม็ดบัวไทยโดยเฉพาะเม็ดบัวไทยสด
วิธีกิน คือ ลอกเปลือกออกจากเมล็ด โดยไม่ดึง
เยื่อหุ้มเมล็ดและดีบัวออก กินสดๆทั้งเมล็ด จะทำให้ร่างกายได้รับวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านมะเร็งซึ่งอยู่บริเวณเยื่อหุ้มเมล็ดและดีบัวในปริมาณสูง
ข้อควรระวัง ผู้ที่มีอาการท้องผูก ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ไม่ควรกิน และไม่ควรปรุง
อาหารที่มีเม็ดบัวในภาชนะที่ทำจากเหล็ก เพราะจะทำให้เม็ดบัวกลายเป็นสีดำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น